วันอังคารที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2557
สว่านไฟฟ้า เครื่องมือช่างพื้นฐานที่สำหรับมากๆสำหรับช่างมือใหม่
สว่านไฟฟ้า เครื่องมือช่างพื้นฐานที่สำหรับมากๆสำหรับช่างมือใหม่
สว่าน คืออุปกรณ์ช่างชนิดหนึ่ง ใช้สำหรับเจาะรูบนวัสดุหลายแบบ เป็นอุปกรณ์งานช่างที่ใช้ประจำในงานไม้และงานโลหะ ประกอบด้วยส่วนสำคัญคือดอกสว่านที่หมุนได้
ดอกสว่านยึดอยู่กับเดือยด้านหนึ่งของสว่าน และถูกกดลงไปบนวัสดุที่ต้องการจากนั้นจึงถูกทำให้หมุน ปลายดอกสว่านจะทำงานเป็นตัวตัดเจาะวัสดุ กำจัดเศษวัสดุระหว่างการเจาะ (เช่น ขี้เลื่อย) หรือทำงานเป็นตัวสูบอนุภาคเล็กๆ (เช่นการเจาะน้ำมัน)
สว่านไฟฟ้า มีรูปพรรณสัณฐาน คล้ายปืน มีด้ามจับในรูปร่างเดียวกันกับปืน ส่วนด้านปลายแหลมนั้นจะมีรูปแบบคล้ายไม้ตะเกียบกลมๆ เรียกว่าดอกสว่าน โดยดอกสว่านนั้นจะเป็นแท่งยาวๆ แท่งนั้น จะมีลักษณะเป็นเกลียว ปลายแหลมคล้ายดินสอ ซึ่งดอกสว่านจะมีหลากหลายขนาด แต่ละขนาดก็เหมาะสมกับการใช้งานแต่ละอย่าง(ซึ่งผมจะมาแนะนำการใช้งานอีกครั้ง) มีสายไฟสำหรับรับกระแสไฟฟ้าในการใช้งาน ส่วนตัวจับนั้น จะมีลักษณะเป็นปุ่มคล้ายปืนฉีดน้ำ เอาไว้บังคับหรือกดให้อุปกรณ์งานช่างทำงานได้นั่นเอง
สว่านไฟฟ้า และข้อพึงระวังในการใช้งาน
การใช้งานสว่านไฟฟ้านั้น ก่อนการใช้งานควรจะตรวจให้แน่ใจว่าสว่านไฟฟ้าอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ เวลาจะใช้งานควรจะต้องเตรียมเครื่องมืองช่างป้องกันให้พร้อม ไม่ว่าจะเป็นแว่นตาป้องกัน และชุดป้องกันอันตราย เมื่อใช้งานเสร็จเรียบร้อย ควรทำความสะอาด และมีการตรวจตราสว่านไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ แล้วเก็บรักษาไว้ในกล่องอุปกรณ์เครื่องมือช่างไว้ให้มิดชิด
ปัญหาที่มักจะพบบ่อยๆของสว่านไฟฟ้า
โดยมากสว่านไฟฟ้ายี่ห้อดีๆหน่อยมักจะไม่ค่อยมีปัญหาเท่าไหร่ ปัญหาที่พบส่วนมากมักเป็นยี่ห้อเกรดรองๆลงมา ปัญหาที่พบมักจะเป็นเรื่อง มอเตอร์ไหม้ เนื่องจากใช้งานไม่ถูกงาน ทุ่นสึก หรือ ปัญหาแปรงถ่านหมด ถ้าเป็นยี่ห้อ เกณฑ์การหาร้านซ่อมไม่ใช่เรื่องยาก แต่ถ้าเป็นของจีนโนเนม ผมแนะนำให้ซื้อใหม่เลยดีกว่า คราวหน้าผมจะมาแนะนำเรื่องดอกสว่าน การใช้งาน และการเลือกซื้อ
ข้อควรรู้การใช้สว่าน
- ก่อนทำการเจาะทุกครั้งควรใช้เหล็กตอกนำศูนย์ตรงจุดที่ต้องการเจาะ เพื่อให้ดอกสว่านลงถูกตำแหน่ง
- ควรจับเครื่องเจาะให้กระชับและตรงจุดที่เจาะ
- การเจาะต้องเริ่มออกแรงกดให้สัมพันธ์กับการหมุน เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้
- ในการเจาะชิ้นงานให้ทะลุทุกลักษณะจะต้องมีวัสดุรองรับชิ้นงานเสมอ
- ควรเลือกใช้ดอกสว่านให้เหมาะกับขนาดของชิ้นงาน
- ไม่ควรใช้ดอกสว่านผิดหมวด เช่น ดอกสว่านเจาะคอนกรีตไม่ควรนำไปเจาะเหล็ก เป็นต้น
การจัดเก็บและบำรุงรักษา
- ตรวจสอบซ่อมบำรุงสว่านให้มีสภาพการใช้งานได้อย่างมีศักยภาพ
- ทำความสะอาดหลังการใช้งานทุกครั้ง
- ก่อนนำไปเก็บให้ชโลมนำมันเครื่องใสทุกหน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น